ข้อแนะนำในการทำเว็บไซต์

ข้อแนะนำในการทำเว็บไซต์



ข้อแนะนำในการทำเว็บไซต์

1. การเลือกเนื้อหาเว็บไซต์ ถือเป็นส่วนสำคัญในการเริ่มต้นทำเว็บไซต์ ทั้งการจัดโครงสร้าง และความนิยมของเว็บไซต์ สำหรับผู้เริ่มต้น ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะเลือกหัวข้อใด ควรเริ่มต้นจาก การสำรวจตัวเองว่า ชอบ หรือ สนใจสิ่งใด มากที่สุด หรือ มีความรู้เชี่ยวชาญด้านใดมากที่สุด


2. โครงสร้างของเว็บไซต์ มีจุดมุ่งหมายสำคัญคือ การที่จะทำให้ ผู้เข้าเยี่ยมชม สามารถค้นหาข้อมูล ใน เว็บไซต์ได้อย่างเป็นระบบ ประการแรกต้องพิจารณาถึง ความเป็นไปได้ของประเภทของผู้เข้าเยี่ยมชม เพราะผู้เยี่ยมชมแต่ละประเภท ก็จะค้นหาข้อมูลที่แตกต่างกัน ดังนั้นสิ่งที่ควรจะทำก็คือการจัดกลุ่ม ของข้อมูลโดยให้รวมหัวข้อย่อยต่างๆ ให้อยู่ในหัวข้อหลัก โดยมีจุดมุ่งหมายให้ จำนวนข้อหลักน้อย ที่สุด นอกจากนี้การจัดไฟล์และไดเร็กทอรี่ ก็จะช่วยให้การดูแลรักษาและการตรวจสอบความ ผิดพลาดของเว็บไซต์ง่ายยิ่งขึ้น เช่น การจัดไฟล์รูปภาพไว้ที่เดียวกัน หรือ จัดเว็บไซต์ที่เป็นเรื่อง เดียวกันไว้ในไดเร็กทอรี่เดียวกัน เป็นต้น


3. สามารถดูเว็บไซต์ได้ในหลายบราวเซอร์ การทำเว็บไซต์ควรจะทำเพื่อให้สามารถดูได้จากทุกๆ Version ของ Software ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Netscape Communicator Internet Explorer หรือ อื่นๆ การ ทำให้ทุกคนดูได้นี้ ถือว่าเป็นการขยายฐานของผู้เข้าเยี่ยมชม


4. ความเร็วในการโหลดเว็บไซต์ สำหรับหน้าแรกของเว็บไซต์ไม่ควรให้โหลดข้อมูลช้า ปัจจัยที่จะ กระทบต่อความเร็ว ได้แก่ ขนาดของรูปภาพที่ใช้ จำนวนของรูปภาพที่ใช้ และปริมาณของตัวอักษรที่ อยู่บนหน้านั้นๆ อนึ่งความเร็วในการโหลดเว็บไซต์ อาจอยู่ที่ Server ที่เว็บไซต์นั้นๆอยู่ว่ามี ความสามารถสูงเพียงใด ขนาดของรูปภาพที่ใช้ควรจะมีขนาดไม่เกิน 20-30K ต่อรูป ส่วนประเภทของ รูปนั้นควรเป็น GIF หรือ JPEG ถ้าขนาดของรูปภาพใหญ่เกินไป อาจตัดแบ่งให้ขนาดเล็กลง และใช้ ตารางช่วยในการจัดรูปภาพนั้นๆ


5. ความง่ายในการค้นหาข้อมูล ปัจจัยหลักนั้นขึ้นอยู่กับโครงสร้างของเว็บไซต์ตั้งแต่ตอนแรกที่มีการจัด โครงสร้างและจัดกลุ่มของข้อมูล นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกเช่น การมี Navigator bar หรือ แถบนำ ทาง ในทุกๆหน้าของเว็บไซต์ และถ้าสามารถให้บริการ Search และ Sitemap ได้ก็จะเป็นสิ่งที่จะช่วย ให้ค้นหาข้อมูลได้ง่ายยิ่งขึ้น


6. ตัวอักษร, ฉากหลัง และ สี สำหรับรูปแบบที่นิยมใช้คือ ตัวอักษรสีดำ บนฉากหลังขาว ถ้าต้องการ กำหนดประเภทของตัวอักษรควรใช้ที่เป็นสากลนิยม เช่น ในกรณีภาษาอังกฤษ อาจใช้ Arial หรือ Times News Roman เป็นต้น ส่วนภาษาไทย อาจใช้ MS Sans Serif การเลือกใช้ตัวอักษรภาษาไทยนั้น ต้องระวังเป็นพิเศษเพราะในกรณีที่เครื่องผู้เยี่ยมชมไม่มีตัวอักษรนั้นๆ อาจทำให้ผู้เข้าเยี่ยมชมไม่ สามารถอ่านตัวอักษรได้เลย


7. รูปภาพที่ใช้ทำเว็บ ที่ใช้มี 2 ประเภทคือไฟล์กราฟิกประเภท GIF หรือ JPEG ในปัจจุบันไฟล์ประเภท PNG ก็มี บางเว็บใช้เช่นกัน หนึ่งในหลักการพิจารณาการใช้ประเภทเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด คือ จำนวนสีของ รูปภาพนั้นๆ ถ้าเป็นภาพแต่งหรือภาพถ่ายที่มีสีมากๆ ก็ควรใช้ไฟล์ประเภท JPEG แต่ถ้าเป็นเพียงปุ่ม หรือป้ายที่มีสีไม่มากก็ควรใช้ GIF พร้อมกับพิจารณาเรื่องขนาดของไฟล์ด้วย อนึ่งควรจะมีการคะเน ขนาดของรูปภาพที่จะใส่บนเว็บไซต์ก่อน เพื่อจะได้ใช้ขนาด และ อัตราส่วน ที่พึงพอใจมากที่สุด


8. ส่วนประกอบที่ขาดไม่ได้ของเว็บไซต์ เช่น หัวข้อที่เกี่ยวกับผู้จัดทำ อาจเป็นประวัติความเป็นมา และ/ หรือ ข้อมูลปัจจุบัน (About us) เหล่านี้ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับผู้เขา้เยี่ยมชม และเพิ่มเติมเกี่ยวกับ แถบนำทาง Search Sitemap และยังมีหัวข้ออื่นๆ อีก เช่น ข้อเสนอแนะ (Feedback) คำถามที่ถูกถาม บ่อย (FAQ - Frequently Asked Questions)


9. ก่อนที่จะนำเว็บไซต์ Upload ไปยัง Server ควรจะมีการทดสอบ โดยใช้ทั้ง Netscape Communicator และ Internet Explorer เพื่อดูความเร็วในการโหลดว่าช้าหรือเร็วเพียงใด Link ทั้งภายใน และ ภายนอก ถูกต้องหรือไม่ รูปภาพถูกต้องหรือไม่ พิสูจน์อักษร และอ่านข้อมูล เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลต่างๆ ถูกต้อง


10. หลังจากที่เว็บไซต์ Publish ถ้าเป็นไปได้ควรทดสอบ เหมือนกับที่ทดสอบก่อนที่จะ Publish เพื่อความ แน่ใจอีกครั้ง นอกจากการทดสอบแล้ว สิ่งที่จะต้องกระทำหลัง Publish คือ การสำรวจ ปรับปรุง และ ดูแลรักษาเว็บไซต์ เมื่อพบความคิดดีๆ ที่อาจนำมาปรับปรุงเว็บไซต์ได้ก็ควรจะจดบันทึกไว้ ถ้าเป็นการ แก้ไขนิดหน่อยก็ควรทำการแก้ไขทันที แต่ถ้าเป็นการแก้ไขที่ต้องใช้เวลานานควรรอสักระยะรวบรวม สิ่งที่ต้องการแก้ไขทั้งหมด


ที่มา: golly-design

โดย :
 1751
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

หลังจากที่ Facebook ได้ปล่อยฟีเจอร์ใหม่ คือให้ผู้ใช้งานสามารถกด Reaction ต่างๆ ในคอมเม้นได้แล้ว โดยสัญลักษณ์แสดงความรู้สึกต่างๆ ก็จะเหมือนกับที่สามารถกดได้ในโพสต์ คือ ถูกใจ (Like), รักเลย (Love), ฮา (Haha), ว้าว (Wow), เศร้า (Sad), และโกรธ (Angry) โดยฟีร์เจอร์ใหม่นี้ได้สร้างสีสันให้กับการใช้ Facebook เป็นอย่างมาก
Omni-Channel คือการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าผ่านช่องทางที่หลากหลาย โดยไม่เกี่ยงว่าจะเป็นช่องทางออนไลน์หรือออฟไลน์ แต่จะใช้ทั้งสองช่องทางหลักนี้มาผนวกเข้าด้วยกัน เป็นแพลตฟอร์มที่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ตรงกลุ่ม สร้างประสบการณ์ที่ดี และใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด จนเกิดเป็นกลยุทธ์การตลาดที่มีความเชื่อมโยงสอดคล้องกัน (Omni-Channel Experiences) โดยมีช่องทางที่สำคัญ ดังนี้

Feature SoGoodWeb

SoGoodWeb มีระบบรับชำระเงินแบบใหม่ผ่าน Pay Solution รองรับทุกธนาคารชั้นนำ ทำให้การจ่ายเงินผ่านช่องทางออนไลน์เป็นเรื่องง่าย ช่วยให้ลูกค้าจ่ายเงินออนไลน์ได้อย่างสะดวก
LINE Notify คือ บริการที่คุณสามารถได้รับข้อความแจ้งเตือนจากเว็บเซอร์วิสต่างๆ ที่คุณสนใจได้ทาง LINE โดยหลังเสร็จสิ้นการเชื่อมต่อกับทางเว็บเซอร์วิสแล้ว คุณจะได้รับการแจ้งเตือนจากบัญชีทางการของ “LINE Notify” ซึ่งให้บริการโดย LINE นั่นเอง
เหมาะสำหรับลูกค้าที่เปิดธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ทั้งที่เป็นเจ้าของเอง หรือเป็นรายย่อย เป็นระบบจองทัวร์ ที่ช่วยทำให้การจัดการธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ให้เป็นเรื่องง่าย
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์