Key Opinion Leader (KOL) มีบทบาทอย่างไรกับการทำโฆษณา?

Key Opinion Leader (KOL) มีบทบาทอย่างไรกับการทำโฆษณา?

         ในอดีตหากโฆษณาตัวไหนมีดาราดังหรือนักแสดงที่มีชื่อเสียงมาเป็นพรีเซนเตอร์ให้กับแบรนด์ใดก็ตาม สินค้าหรือบริการของแบรนด์นั้นก็มักโด่งดังเป็นพลุแตกและมียอดขายถล่มทลาย แต่ปัจจุบันด้วยความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัลและแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียการโฆษณาการตลาดออนไลน์ จึงทำให้ทุกคนสามารถมีสิทธิ์ที่จะกลายเป็นพรีเซนเตอร์ให้กับแบรนด์ดังๆ ได้เพียงแค่มีผู้ติดตามในโลกโซเชียลมีเดีย โดยทางการตลาดเรียกคนกลุ่มนี้ว่า Key Opinion Leader หรือ KOL

Key Opinion Leader (KOL) คืออะไร?

         Key Opinion Leader หรือ KOL คือ ผู้ที่มีอิทธิพลทางความคิด ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทต่อสังคมออนไลน์ในปัจจุบันอย่างมาก เพราะมีทั้งผู้ที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว และมีช่องทางให้ติดตามบนโลกออนไลน์ โดยมีอิทธิพลที่จะโน้มน้าวใจผู้ติดตาม ดังนั้น การทำการตลาดออนไลน์โดยใช้ KOL ช่วยโปรโมทหรือรีวิวสินค้าของเรา จะช่วยให้คนรู้จัก และเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าได้มากขึ้น


ข้อดีของ Key Opinion Leader (KOL)

1.เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เป็น Niche Market หรือตลาดเฉพาะกลุ่มได้

         เนื่องจาก KOL มีผู้ติดตามอยู่แล้ว และส่วนใหญ่จะเป็นคนที่มีความสนใจแบบเดียวกัน ดังนั้นถ้า KOL โปรโมทหรือรีวิวสินค้าใดๆ ที่ตรงความสนใจ สินค้านั้นก็จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากกว่าการโฆษณาแบบอื่น


2.เกิดการมีส่วนร่วมได้ง่าย

         การใช้ KOL ที่มีอิทธิพลในการโน้มน้าวผู้ติดตามอยู่แล้ว ส่งผลให้สินค้าหรือบริการที่ได้รับการรีวิวได้รับความสนใจจนเกิดการมีส่วนร่วม (Engagment) ได้ง่ายขึ้น เช่น การแชร์ต่อแล้วกระจายต่อเป็นวงกว้าง หรือการแสดงความคิดเห็นต่างๆ


3.ส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์

         สำหรับ KOL ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญหรือความสนใจเฉพาะด้าน การที่เราเลือกคนที่มีความสนใจตรงกับสินค้าและบริการของเรา ย่อมทำให้แบรนด์ดูน่าเชื่อถือขึ้น


4.ช่วยให้ธุรกิจอยู่เหนือกว่าคู่แข่ง

‍         ในกรณีที่สินค้าหรือบริการของคุณสามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไป การใช้ KOL มาช่วยโปรโมทหรือรีวิว ก็จะเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าของสินค้าหรือบริการนั้นๆ ให้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้แบรนด์ของคุณอยู่เหนือกว่าคู่แข่งที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการประเภทเดียวกันได้ไม่ยาก

แนวทางการตลาดกับ Key Opinion Leader (KOL)

1.เลือก KOL ที่มีความสนใจเกี่ยวข้องกับแบรนด์

         การเลือกคนที่มีความสนใจตรงกับแบรนด์ของเรา จะทำให้การรีวิวสินค้าหรือบริการของเราดูมีความน่าเชื่อถือเพิ่มมากขึ้น เหมือนคนที่ได้ลองใช้จริง และสามารถเข้าถึงผู้ติดตามได้เป็นอย่างดี

2.ไม่ปรับเปลี่ยนตัวตน KOL

         ไม่ควรกำหนดแนวทางการโปรโมทหรือแก้ไขคอนเทนต์ที่ไม่ใช่ตัวตนของ KOL นั้นๆ เช่น พูดอวยแบรนด์จนเกินไป เพราะจะดูไม่ธรรมชาติ ดูแล้วไม่น่าเชื่อถือ

3.สร้างคอนเทนต์ร่วมกับ KOL

         ควรวางแผนสร้างคอนเทนต์ เพื่อให้คอนเทนต์ไปในทิศทางเดียวกันกับสไตล์ของ KOL และจะได้ทำให้สร้างสรรค์คอนเทนต์ออกมาได้อย่างเต็มที่และตรงตามจุดประสงค์ในการทำการตลาดของแบรนด์

Key Opinion Leader (KOL) ต่างกับ Influencer อย่างไร?

         Influencer เป็นผู้ที่มีอิทธิพลผู้มีอิทธิพลบนโลกออนไลน์ บางครั้ง KOL ก็สามารถจัดเป็น Influencer ได้เช่นกัน เพราะเป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินค้าหรือใช้บริการของผู้ติดตามในโซเชียลมีเดีย ทั้งนี้ก็มีความแตกต่างกันดังนี้

         - KOL มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ขณะที่ Influencer มักเป็นผู้นำทางความคิดและไลฟ์สไตล์

         - KOL อาจจะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวใจมากกว่า เพราะผู้ติดตามรู้สึกยกย่อง ขณะที่ Influencer นั้น ผู้ติดตามจะชื่นชอบแนวคิด ไลฟ์สไตล์และการนำเสนอ

         - KOL อาจไม่ได้เป็นผู้ที่มีอิทธิพลบนโลกออนไลน์โดยตรง แต่มีโซเชียลมีเดียเป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสาร ขณะที่ Influencer นั้นเป็นใช้โซเชียลมีเดียเป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับผู้ติดตามโดยตรง

         
         การทำการตลาดด้วยกลยุทธ์ KOL นับเป็นอีกหนึ่งวิธีที่น่าสนใจ ทั้งนี้ทั้งนั้น สิ่งสำคัญในการทำการตลาดด้วย KOL ให้ประสบความสำเร็จ คือ การเลือก KOL ที่มีผู้ติดตามที่เป็นกลุ่มลูกค้าของแบรนด์ รวมถึงควรมีการออกแบบคอนเทนต์ที่สร้างสรรค์ มีความแปลกใหม่ และสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค เพราะหากมีคนเสิร์ชหาข้อมูลใน Google ด้วย Keyowrd อะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการของแบรนด์ แล้วมาเจอคอนเทนต์ที่สนองกับความต้องการ ก็มีโอกาสสูงที่พวกเขาจะเปลี่ยนมาเป็นลูกค้าของคุณนั่นเอง

 

 

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : Wismarketing


โดย :
 2189
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Pay per click เป็นการ โฆษณา ผ่านทางตัวแทนเว็บ เพื่อทำการ โฆษณา เว็บของคุณ โดย ค่าใช้จ่าย จะคิดจากจำนวนคลิกเป็นหลัก หากไม่มีจำนวนของการคลิก ก็จะไม่เสียเงินค่าโฆษณาแต่อย่างใด แต่อาจจะมีแตกต่างไปบ้างตามแต่ข้อตกลงแต่ละค่าย เช่น อาจจะมีการคิดเพิ่มเติมในรูปแบบของ ePPM หรือ จำนวนการแสดงโฆษณาต่อการแสดงหนึ่งพันครั้ง ในปี 2550 กูเกิล ได้เสนอระบบใหม่ Pay-Per-Action[1] ซึ่งอยู่ในขั้นทดลอง โดยเปลี่ยนจากระบบการจ่ายเงินค่าโฆษณาตามจำนวนที่มีคนคลิกเข้าไปดู เป็นการจ่ายเงินตามการกระทำที่กำหนด เช่น ซื้อของอย่างน้อยหนึ่งชิ้น หรือเข้าดูหน้าใดหน้าหนึ่ง โฆษณา PPC นั้นคือการลงโฆษณาผ่าน search engine ต่างๆ เช่น Google, Yahoo, MSN ใน keywordที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการของคุณ วิธีนี้จะคล้ายคลึงกับการทำ SEO (Search Engine Optimization)เพียงแต่เว็บของคุณจะปรากฏอยู่ทางขวามือในส่วนของโฆษณา(ในขณะที่ SEO จะอยู่ทางด้านซ้ายมือ) โดยคุณจะเสียเงินค่าโฆษณาก็ต่อเมื่อมีคนคลิกโฆษณาของคุณเท่านั้นหากแสดงเฉย ๆ จะไม่เสียเงินค่าโฆษณา
ในยุคที่การตลาดนั้นต้องการความแม่นยำอย่างมากในการทำงาน ต้องการแย่งชิงความสนใจของผู้บริโภคมาให้ได้ ซึ่งผู้บริโภคนั้นมีเวลาอย่างจำกัดในวัน ๆ หนึ่งแถมยังรับสื่อต่าง ๆ ได้จำกัดอีกด้วย
"ต้นน้ำแห่งเวชสำอางสมุนไพร" ที่จะช่วยเนรมิตผิวที่มีปัญหาสิวฝ้ากระผิวหมองคล้ำให้สวยใส แบบไร้อาการ เพื่อคนไทยอย่างแท้จริง ให้ความสวยใสและผิวพรรณที่ดีตลอดกาล

Feature SoGoodWeb

SoGoodWeb มีระบบรับชำระเงินแบบใหม่ผ่าน Pay Solution รองรับทุกธนาคารชั้นนำ ทำให้การจ่ายเงินผ่านช่องทางออนไลน์เป็นเรื่องง่าย ช่วยให้ลูกค้าจ่ายเงินออนไลน์ได้อย่างสะดวก
LINE Notify คือ บริการที่คุณสามารถได้รับข้อความแจ้งเตือนจากเว็บเซอร์วิสต่างๆ ที่คุณสนใจได้ทาง LINE โดยหลังเสร็จสิ้นการเชื่อมต่อกับทางเว็บเซอร์วิสแล้ว คุณจะได้รับการแจ้งเตือนจากบัญชีทางการของ “LINE Notify” ซึ่งให้บริการโดย LINE นั่นเอง
เหมาะสำหรับลูกค้าที่เปิดธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ทั้งที่เป็นเจ้าของเอง หรือเป็นรายย่อย เป็นระบบจองทัวร์ ที่ช่วยทำให้การจัดการธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ให้เป็นเรื่องง่าย
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์