การขยับขยายการทำธุรกิจออกไปสู่ต่างประเทศคือแนวทางการต่อยอดธุรกิจที่น่าสนใจและเป็นจุดที่อาจจะเรียกได้ว่าสูงสุดแล้วสำหรับนักธุรกิจสายเลือดไทยที่สามารถพาสินค้าส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศได้แต่การส่งออกสินค้ามีข้อแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับการทำธุรกิจภายในประเทศทั้งเรื่องของวัฒนธรรมค่านิยมของผู้บริโภคและที่สำคัญคือเรื่องของกฎหมายและระบบการเสียภาษีจึงไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จเหมือนกับการลงทุนแข่งขันภายในประเทศ ดังนั้นการเตรียมความพร้อมให้กับทั้งผู้ประกอบการและธุรกิจคือสิ่งแรกๆ ที่จะต้องทำก่อนที่จะซื้อตั๋วเครื่องบินเสียอีก
1. สิ่งที่ต้องทำก่อนเป็นอันดับแรกในการส่งออกคือการแต่งตั้งผู้จัดการโครงการขึ้นเป็นการเฉพาะ อันเนื่องมาจากการไปลงทุนทำธุรกิจในต่างประเทศมีรายละเอียดปลีกย่อยในเรื่องของข้อมูลและวิธีการดำเนินการต่างๆ ค่อนข้างมาก บางทีแทบจะเรียกได้ว่าเป็นการสร้างธุรกิจขึ้นมาใหม่ทั้งหมดเลยทีเดียว ซึ่งความแตกต่างที่ว่านี้ไม่สามารถนำแนวทางที่ใช้ในการบริหารที่แผ่นดินแม่ไปใช้ได้เลย ดังนั้นการแต่งตั้งผู้จัดการในครั้งนี้จะต้องเลือกเอาบุคคลในระดับท๊อปสุด ที่มีความรู้ความสามารถบวกกับประสบการณ์การทำธุรกิจในต่างประเทศจึงจะเหมาะสมที่สุด ธุรกิจจะรุ่งหรือจะร่วงก็ขึ้นอยู่กับการคัดเลือกแม่ทัพในการทำศึกการส่งออกครั้งนี้ของผู้ประกอบการด้วยพยายามเลือกเจาะเฉพาะบางประเทศ แทนที่จะหว่านไปทั่วทั้งหมด
2. ผู้ประกอบการต้องทำการเรียกประชุมระดมสมองทีมงานที่จะไปบุกต่างประเทศโดยมีเนื้อหาสาระสำคัญอยู่ที่การตรวจสอบโอกาสทางการตลาดของประเทศที่จะไป ว่าสินค้าของผู้ประกอบการมีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จมากขนาดไหน โดยต้องพิจารณาข้อมูลในทุกเรื่องไม่ว่าจะเป็นราคา จุดเด่น จุดด้อย การวางแผนธุรกิจ การทำตลาด คู่แข่งขัน ซึ่งบางทีอาจจะมีมาจากต่างประเทศเหมือนในกรณีของผู้ประกอบการก็เป็นได้ จึงต้องทำการพิจารณาและวิเคราะห์อย่างละเอียดด้วยว่าธุรกิจจะสามารถเข้าไปเจาะและตีตลาดได้หรือว่าจะถูกเค้าไล่ตีกลับมา
3. หลังจากได้บทสรุปจากการตรวจสอบโอกาสทางการตลาดแล้ว ผู้ประกอบการต้องนำข้อมูลของแผนการดำเนินงานทางยุทธศาสตร์และยุทธวิธีมาตรวจสอบเพื่อเปรียบเทียบดูกับผลิตภัณฑ์สินค้าของทางบริษัทว่าจะต้องมีการปรับเปลี่ยนในส่วนใดหรือไม่ เพราะเชื่อว่าคงไม่มีผลิตภัณฑ์สินค้าชนิดใดจะสามารถขายได้ในทุกประเทศโดยที่ไม่ต้องปรับเปลี่ยนในส่วนไหนเลย การปรุงแต่งจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งก่อนที่จะส่งออกสินค้าไปวางขายยังต่างแดนให้ได้รับผลตอบรับเป็นที่น่าพอใจ นอกจากนี้ต้องไม่ลืมว่าปัจจัยเรื่องค่าครองชีพนั้นก็มีผลต่อการตั้งราคาสินค้าเช่นกัน
3. รูปแบบในที่นี้มีอยู่ด้วยกัน 2 ลักษณะคือ ผู้ประกอบการจะเลือกนำสินค้าส่งออกไปขายในรูปแบบใด จะขึ้นห้างสรรพสินค้า ขายตามซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ มีหน้าร้านเป็นของตนเอง ขายทางออนไลน์ ฯลฯ ซึ่งวิธีการทั้งหมดที่ได้เอ่ยไปล้วนมีราคาที่จะต้องจ่ายโดยนับเป็นต้นทุนด้วยเช่นเดียวกัน จึงควรต้องคัดเลือกให้มีความเหมาะสมกับแผนงานมากที่สุด
4. อย่างที่สองคือช่องทางการขนส่งสินค้าจากประเทศไทย หลักๆ จะมีอยู่ด้วยกัน 3 ช่องทางคือ รถยนต์ เรือ เครื่องบิน แต่ละช่องทางจะมีราคาและเรื่องระยะเวลาที่แตกต่างกันซึ่งเป็นปัจจัยที่ผู้ประกอบการต้องนำมาคำนวนด้วย ทั้งนี้ผู้ประกอบการอาจเลือกใช้วิธีการร่วมทุนกับบริษัทที่มีสัญชาติของประเทศดังกล่าวก็ได้เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระเรื่องต้นทุน แถมยังได้ผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นคนในท้องถิ่นร่วมงานด้วย ซึ่งจะมีความได้เปรียบในการทำธุรกิจข้ามประเทศค่อนข้างมาก
5. ทุกประเทศในโลกล้วนมีกำแพงภาษีเพื่อเป็นการป้องกันการทะลักของสินค้าจากต่างประเทศด้วยกันแทบทั้งสิ้น ซึ่งในแต่ละประเทศจะมีการเรียกเก็บภาษีที่แตกต่างกันออกไปตามแต่กฎหมายของประเทศนั้นๆ ดังนั้นจึงควรว่าจ้างทนายความและนักบัญชีที่เป็นคนในประเทศดังกล่าวขึ้นมาเป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจเพื่อจะสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างถูกกฎหมาย เพราะบางประเทศกฎหมายเรื่องภาษีมีโทษรุนแรงมาก ซึ่งนั่นอาจทำให้อนาคตการทำธุรกิจของผู้ประกอบการดับวูบก็เป็นได้ อันเนื่องมาจากความผิดพลาดที่ไม่ได้ตั้งใจจากการละเลยการเสียภาษี
6. เงินทุนหมุนเวียนคือสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจ ดังนั้นผู้ประกอบการควรที่จะเสริมสภาพคล่องทางการเงินไว้ให้มาก โดยเฉพาะการส่งออก เพราะเมื่อเกิดปัญหาฉุกเฉินขึ้นมาก็แทบจะไม่มีสิทธิไปขอกู้ธนาคารที่อยู่ต่างประเทศได้เลย การรักษาสุขภาพทางการเงินจึงเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการจะต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ นอกจากนี้การทำประกันการซื้อขายสินค้ายังเป็นอีกทางเลือกที่ดีที่ควรมองไว้ด้วย
การออกไปบุกเบิกลุยทำธุรกิจยังต่างประเทศถือว่ามีความยากในระดับที่สูงกว่าการทำในประเทศบ้านเกิดหลายเท่าตัวนัก ส่วนสำคัญที่สุดก็คงหนีไม่พ้นในเรื่องของความแตกต่างเฉพาะตัวที่ยากจะเข้าถึงได้ ไหนจะมีเรื่องของความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนทางการเงินที่วิ่งอยู่ตลอดเวลาไม่เคยหยุดอยู่กับที่ ดังนั้นสิ่งที่นอกเหนือจากการเตรียมความพร้อมที่ได้นำเสนอไปแล้วในบทความด้านบน ก็คงต้องเป็นเรื่องการใช้ทักษะส่วนตัวในด้านช่างสังเกตและพร้อมเรียนรู้เพื่อจะได้ปรับตัวอยู่ตลอดเวลา จึงจะเป็นแนวทางและเคล็ดลับสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจของผู้ประกอบการสามารถลงไปปักธงยังดินแดนต่างประเทศได้ประสบความสำเร็จในที่สุด
Credit : incquity
By : www.SoGoodWeb.com