ประโยชน์และความคุ้มค่าที่จะเห็นได้ชัดเมื่อภาครัฐมีการจัดซื้อจัดจ้าง ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ (อี-โพรเคียวเม้นท์)
ประกอบด้วย 4 "ป" คือ
"ประสิทธิภาพ" หมายถึง ช่วยลดกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างให้มีความรวดเร็วคล่องตัว เนื่องจากอี-โพรเคียวเม้นท์จะเปลี่ยนแปลงกระบวนการ และขั้นตอนในภาครัฐเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างให้น้อยลงกว่าเดิม ประมาณ 2-3 ขั้นตอน เช่น จากเดิมที่ต้องใช้ 16 ขั้นตอนกว่าจะถึงผู้บริหารอนุมติก็ลดเหลือเพียง 12 ขั้นตอน ประโยชน์ต่อมา คือ
"โปร่งใส" หมายถึง เปิดกว้างให้สาธารณชนรับทราบและมีโอกาสเข้าร่วมประมูล ตรวจสอบการประมูลได้ พร้อมเปิดโอกาสให้เอกชนรายเล็กที่ไม่เคยมีโอกาสเข้าประมูล สามารถเข้าร่วมได้ซึ่งจะทำให้เกิดการแข่งขันอย่างแท้จริง ประโยชน์อีกประการ คือ
"ปฏิบัติ" หมายถึง กฎระเบียบการดำเนินงานที่ออกมาต้องปฏิบัติได้จริง โดยหลักการประมูลผ่านระบบออนไลน์จะเหมาะสมกับการจัดซื้อครุภัณฑ์ที่มีมูลค่า 1 ล้านบาทขึ้นไป และต้องมีผู้เข้าประมูลหลายรายจึงจะทำให้ประหยัดได้อย่างแท้จริง นอกจากนี้การประมูลออนไลน์แต่ละครั้งผู้เปิดประมูลต้องมีค่าใช้จ่ายประมาณ 5,000 บาทต่อครั้ง ส่วนผู้ขายจะเสียส่วนแบ่งรายได้จากมูลค่าโครงการที่ได้รับประมาณ 1-2 เปอร์เซ็นต์ให้กับตลาดกลางที่เป็นผู้ทำระบบการประมูล หรือเรียกว่า "ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์" และ ประการสุดท้าย คือ
"ประหยัด" เนื่องจากการประมูลออนไลน์จะมีการแข่งขัน กันอย่างเสรี ทำให้เกิดการแข่งขันด้านราคามากขึ้น และจะได้ราคาประหยัดกว่าแบบเดิม เพราะมีปัญหาเรื่องผู้ค้าน้อยราย หรือ ปัญหาการข่มขู่ หรือ การรู้เห็น "ฮั้ว" กันระหว่างบริษัทเอกชนและเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้จากกรณีศึกษาในภาคเอกชน ที่มีระบบจัดซื้อจัดจ้างออนไลน์พบว่า หน่วยงานสามารถประหยัดได้เฉลี่ย 20 เปอร์เซ็นต์ แต่สำหรับในภาครัฐอาจจะอยู่ที่ 5 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไปในช่วงเริ่มต้น
Credit : vclass.mgt