ทุกวันนี้การเช็คยอดเงินคงเหลือ, จ่ายบิลค่าไฟ หรือการโอนเงินผ่านระบบออนไลน์ถือเป็นเรื่องปกติ แต่มีใครบ้างที่รู้วิธีการทำธุรกรรมเหล่านี้ได้อย่างปลอดภัยต้องทำยังไง มาดูกันเลยค่ะว่า 9วิธี ทำธุรกรรมออนไลน์ให้ปลอดภัยมีอะไรกันบ้าง
เครื่องที่ใช้ทำธุรกรรมนั้นต้องปลอดภัยเป็นอันดับแรก อย่างคอมพิวเตอร์, แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟนของคุณเองเป็นตัวเลือกที่ดี เพราะคุณจะสามารถจับสัญญาณผิดปกติได้ เมื่อเกิดเหตุการณ์น่าสงสัย และถ้าเป็นไปได้ ต่อให้มีธุระด่วนแค่ไหน อย่ายืมโทรศัพท์ของคนอื่น หรือใช้โทรศัพท์สาธารณะทำธุรกรรม เพราะจะเป็นการเอาบัญชีของคุณเข้าไปเสี่ยง
ไม่ใช่อินเตอร์เน็ตทุกที่ที่จะปลอดภัยสำหรับการทำธุรกรรมออนไลน์ Free-Wifi ในร้านกาแฟร้านโปรดของคุณ หรืออินเตอร์เน็ตฟรีตามแหล่งท่องเที่ยวอาจจะไม่ใช่ทางเลือกที่ดีสำหรับการจ่ายบิล หรือโอนเงินเท่าไหร่นัก แต่ถ้าหากจำเป็นจริงๆ ให้ใช้ Virtual Private Network หรือ (VPN) เพื่อเข้ารหัสกิจกรรมของคุณ (ทำให้คนอื่นไม่สามารถเข้ามา หรือแอบดูกิจกรรมที่เราทำได้) สำหรับใครที่ไม่รู้ว่า VPN คืออะไร? ตามอ่านกันได้ในบทความของ ESET ใน VPN คืออะไร?
การที่คุณมีอุปกรณ์ที่ใช้ซอฟต์แวร์ตัวล่าสุดนั่นหมายความว่า คุณมีอุปกรณ์ที่ปิดทุกช่องโหว่ (ที่อาชญากรไซเบอร์อาจใช้เป็นหนทางเข้ามาในอุปกรณ์ของคุณได้) ดังนั้นเพื่อประหยัดเวลา และความปลอดภัยสูงสุดของคุณ หลายโปรแกรมมีระบบอัปเดตอัตโนมัติ ที่จะอัปเดตโปรแกรมของคุณในทันทีที่มีอัปเดตใหม่เข้ามา แต่อย่าลืมบอกให้ใช้ Wifi ล่ะ เพราะมันกินอินเตอร์เน็ตเยอะมาก
ก่อนคุณจะเชื่อมต่อเข้าสู่บัญชีของคุณ ติดตั้งโปรแกรมป้องกันหลายชั้น และอัปเดตสม่ำเสมอ โปรแกรมเหล่านี้จะสามารถรับมือกับไวรัส และมัลแวร์ได้หลายชนิด หรือแม้กระทั่งกลลวงจากอีเมล หรือเว็บไซต์ปลอมที่หลอกให้คุณกรอกข้อมูลสำคัญลงไปได้อีกด้วย
ลองถามตัวเองว่ารหัสผ่านที่ทำธุรกรรมนั้นแน่นหนาพอหรือไม่ ถ้าคิดไม่ออกว่าจะใช้รหัสผ่านอะไร? เรามีวิธีการคิดรหัสผ่านแบบง่ายๆแต่ซับซ้อน ในบทความ รหัสผ่าน? เราต้องใช้มากกว่านั้น
อีกหนึ่งกฎเหล็กของการตั้งรหัสผ่านคือ อย่าใช้รหัสผ่านซ้ำกัน พวกเราทราบดีว่ามันยากที่จะจำรหัสผ่านยากๆหลายบัญชี แต่เมื่อถึงเหตุการณ์ล้วงข้อมูลบัญชีของคุณอาจจะเสียข้อมูลของอีกบัญชีก็ได้ ดังนั้นโปรแกรมจัดการรหัสผ่าน หรือ Password Manager ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
ถ้าหากธนาคารของคุณเสนอการใช้ การยืนยันตนสองขั้นตอน หรือ (2FA) เราขอแนะนำให้ใช้ เพราะวิธีนี้จะเป็นการเช็คความปลอดภัยซ้ำ เพื่อเป็นการตรวจสอบความถูกต้อง และยืนยันการทำธุรกรรมด้วยพร้อมๆกัน อีกทั้งยังป้องกันการทำธุรกรรมโดยคนที่มีข้อมูลรหัสผ่านของเราได้อีกด้วย เพราะรหัสผ่านที่คุณใช้ยืนยันจะเข้ามาทางสมาร์ทโฟน
อาชญากรไซเบอร์จะใช้ทุกวิถีทางเพื่อเอาข้อมูลสำคัญของคุณ อย่างการปลอมตัวเป็นธนาคาร หรือแจ้งเตือนให้เปลี่ยนรหัสผ่าน ด้วยลิงก์ปลอมที่เขียนมาในอีเมล
นี่เป็นแค่ตัวอย่างที่อาชญากรไซเบอร์ใช้เพื่อหลอกเอาข้อมูลบัตรเครดิต หรือรหัสผ่านบัญชีของคุณ และจำเอาไว้ว่าข้อความดังที่กล่าวมาข้างต้น ต้องตรวจสอบให้ดีว่าเป็นของจริงหรือไม่ ถ้าหากไม่แน่ใจให้โทรติดต่อโดยตรงเลย
เมื่อใช้โปรแกรมธุรกรรมเสร็จ อย่าลืม Logout เพราะถ้าหากคุณโดยแฮกเข้ามาในช่วงนั้น เค้าอาจทำธุรกรรมต่อได้
ถ้าหากคุณเป็นคนไม่ค่อยเช็คยอดเงิน หรือทำธุรกรรมออนไลน์บ่อยสักเท่าไหร่ การให้ฝ่ายธนาคารใช้ระบบแจ้งเตือนมาเป็นข้อความ SMS ก็จะทำให้คุณได้รับข้อมูลการเงินของคุณได้อย่างปลอดภัย
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : blog.eset