ภาษาสำหรับเขียนเว็บไซต์ที่เป็นที่นิยมปัจจุบัน ได้แก่ PHP, JSP, C# (ASP.NET), Python, Ruby และอีกมากมาย โดยภาษาเหล่านี้จะทำงานร่วมกับ HTML CSS JavaScript และเทคนิคต่างๆ เช่น AJAX เป็นต้น เนื่องจากภาษาสำหรับการพัฒนาเว็บไซต์มีให้เลือกมากมาย บางครั้งบางภาษาที่เราเลือกนั้น อาจจะเป็นเพราะชอบเป็นการส่วนตัว หรือตามกระแสภาษาใหม่ หรือต้องการภาษาที่เร็ว และอีกหลายๆ เหตุผล ซึ่งอาจจะทำให้เกิดปัญหาในการพัฒนาขึ้นได้ เพราะบางภาษาไม่ได้เหมาะสมกับงานที่เราทำ บางภาษามีผู้พัฒนาใช้กันเยอะ แต่ไม่ได้มีประสิทธิภาพ บางภาษาไม่มีมาตรฐานที่ตายตัว เป็นต้น หากแต่เรามีเทคนิคในการเลือกภาษาที่ใช้ในการพัฒนา เพื่อใช้เป็นตัวช่วยในการคัดเลือกภาษาที่เหมาะสมกับตัวเราและงาน มีดังต่อไปนี้
เนื่องจากว่า ภาษาที่มีคนใช้เยอะๆ จะมีองค์ความรู้มากมายเกี่ยวกับการพัฒนา การแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่แพร่หลายกันออกไป ซึ่งเราสามารถจะหาข้อมูลจากองค์ความรู้ได้ง่าย เช่น ในบางครั้งเราเกิดปัญหาขึ้นในการพัฒนา แต่อาจจะมีผู้ที่แก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ และนำมาเป็นองค์ความรู้ไว้ เราก็เพียงนำองค์ความรู้เหล่านั้นมาปรับใช้กับงานเรา ซึ่งบางภาษาที่มีคนใช้เยอะๆ ก็มี Framework หรือแนวคิดต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย ที่จะช่วยเพื่อประสิทธิในการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น เช่น ภาษา PHP มี Framework คือ Laravel , Yii เป็นต้น และมีเครื่องมือที่ช่วยพัฒนาที่รองรับภาษานั้นๆ เกิดขึ้นมากมาย
นอกจากเลือกภาษาที่มีคนนิยมใช้กันแล้ว เราต้องดูข้อมูลของภาษาเหล่านั้นด้วย ว่าใครเป็นผู้พัฒนา ใครเป็นผู้ให้การสนับสนุน ซึ่งภาษาที่มีผู้สนับสนุนรายใหญ่โดยส่วนมากแล้วภาษาเหล่านั้นจะมีการปรับปรุง และพัฒนาไปเรื่อยๆ เช่น C# ที่มีไมโครซอฟท์เป็นผู้พัฒนาและให้การสนับสนุน ภาษา JAVA มีผู้พัฒนาคือ Oracle ภาษา Python มีผู้สนับสนุนคือ Google เป็นต้น ซึ่งภาษาเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีการปรับปรุง และพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ซึ่งทำให้มั่นใจได้ว่าหากภาษาเหล่านี้เกิดข้อบกพร่อง ก็จะมีผู้ที่ทำการแก้ไขให้อยู่เสมอ แต่จะช้าหรือเร็วนั้นขึ้นอยู่กับผู้สนับสนุน และผู้พัฒนาด้วย
จากเทคนิค 2 ข้อด้านบนแล้วภาษาที่เหมาะสมกับงานเป็นที่สำคัญเช่นเดียวกัน ภาษาที่คนใช้กันเยอะ มีการสนับสนุนเป็นอย่างดี ไม่ได้หมายความว่าจะเหมาะสมกับงานของเรา ซึ่งในบางครั้งภาษานั้นอาจมีความซับซ้อนสูง หรือเรียนรู้ยาก ดังนั้น เราควรเลือกภาษาจากข้อดี และข้อเสียในตัวภาษานั้นๆ ด้วย เพราะในบางครั้งข้อดีของภาษานั้นอาจจะตอบโจทย์กับงานของเรา หรือภาษาบางภาษาอาจมีข้อเสียที่อาจจะกระทบงานของเรานั้นเอง
อย่างไรตามเราไม่ควรยึดติดกับภาษาใดมากจนเกินไป เพราะภาษาทุกภาษามีข้อดี ข้อเสียที่แตกต่างกันไป เพียงแต่เราต้องเลือกให้เหมาะสมกับงาน แต่ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนภาษาบ่อยๆ เช่น งานชิ้นนี้เหมาะกับภาษานี้ งานอีกชิ้นหนึ่งเหมาะกับภาษาอีกภาษาหนึ่ง เราอาจจะใช้ภาษาเดียวกันได้ โดยภาษานั้นอาจจะมีแนวคิด หรือส่วนเสริมต่างๆ ที่มาปิดจุดอ่อน หรือข้อเสียนั้นก็เป็นได้ ขึ้นอยู่กับว่าเราศึกษารายละเอียดของภาษานั้นดีแล้วหรือยัง?