ปัญหาเศรษฐกิจ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันทุกคนคงปฏิเสธไม่ได้ว่า มีผลกระทบต่อการซื้อของผู้บริโภคเกือบทั้งโลก โดยเฉพาะประเทศไทย ปัญหาเศรษฐกิจทำให้กลุ่มเป้าหมายซื้อสินค้าได้ยากขึ้น เนื่องจากต้องมีการพิจารณาความจำเป็นมากขึ้น ทำให้การมุ่งทำการตลาดเพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าซื้อสินค้า ก็เป็นไปได้ยากขึ้นเป็นทวีคูณ
กระแสการซื้อที่ฝึดเคืองในปัจจุบัน รวมถึงการทำการตลาดและสร้างแบรนด์ในปัจจุบัน ก็ใช่ว่าจะทำไม่ได้ คุณเพียงต้องรู้ว่าในภาวะเศรษฐกิจ และการซื้อที่ฝึดเคืองนี้ ความต้องการของลูกค้าจริงๆ คืออะไร เขามีความรู้สึกอย่างไร โดยที่เราต้องนำพฤติกรรมลูกค้า และปัจจัยสิ่งแวดล้อมภายนอกโดยเฉพาะเศรษฐกิจเข้ามาพิจารณาด้วย และการสร้างแบรนด์เพื่อตอบสนองความต้องการของตนเองจะเป็นการฆ่าธุรกิจของคุณเอง อย่างประมาทครับธุรกิจขนาดยักษ์ยังล้มมาแล้ว ด้วยการทำการตลาดแบบเชื่อมั่นในตน ทั้งๆ ที่กลุ่มคนที่ตัดสินความเป็นไปของธุรกิจก็คือลูกค้าแท้ๆ ไม่ใช่ตัวธุรกิจ
ที่มา Marketing Oops!
วันนี้เรามีกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ ภายในภาวะการซื้อ และเศรษฐกิจที่ฝืดเคืองในปัจจุบันมาแนะนำให้คุณเพื่อเป็นอีกแนวทางหนึ่งช่วยเหลือคุณในการทำการตลาด และสร้างแบรนด์ เราลองมาดูกันว่ามีอะไรทีสามารถทำได้ในทันทีบ้าง
1. นำเรื่องราวของธุรกิจคุณเป็นประเด็นการสร้างแบรนด์
สินค้าแบรนด์ของคุณ มีประวัติความเป็นมาเป็นอย่างไร มีแรงบันดาลใจอะไรในการทำสินค้านี้ขึ้นมายิ่งเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวเนื่องถึงคนทั่วไปยิ่งดี สิ่งที่ผิดพลาดอย่างไม่น่าให้อภัยของการเสนอเรื่องราวของธุรกิจทั่วไป คือมักจะแอบแฝงไปด้วยการขาย มีการเสนอด้านการขายมากจนเกินไป คุณควรจะเสนอเรื่องราวความเป็นมา (Story) ของแบรนด์คุณ ทำเป็นสื่อหลายๆประเภท โดยเฉพาะสื่อวีดีโอ และ Social Media เพราะเป็นสื่อที่เข้าได้ทุกๆ กลุ่มเป้าหมาย
2. ใช้การตลาดการสร้างแบรนด์โดยใช้อารมณ์ให้มาก ( Emotional Marketing )
โดยการเสนอเรื่องราว การตลาด และการสร้างแบรนด์ผ่านเรื่องราวที่ก่อเกิดอารมณ์ต่างๆ โดยไม่เกี่ยวกับสินค้า หรือบริการเลย อาจจะมีตบท้ายการเสนอด้วย Logo สินค้าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เช่นการเสนอโฆษณาที่เกี่ยวกับการให้ การสูญเสียที่บริษัทประกันชีวิตทำกัน การเสนอเศรษฐกิจแบบพอเพียง การเสนอเรื่องราวสะเทือนใจในการไม่เห็นคุณค่าของเงิน เป็นต้น โดยเรื่องราวนั้นต้องทำเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสินค้า หรือบริการที่คุณทำอยู่น่ะครับ หากคุณต้องการคุณภาพมากขึ้น เมื่อลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายเห็นการเสนอของคุณแล้ว กลุ่มเป้าหมายจะสนใจและเสาะแสวงหาสินค้าของคุณเอง
3. วิเคราะห์ส่วนผสมทางการตลาดว่า คุณด้อยตรงไหนมากที่สุดแล้วเน้นพัฒนาจุดนั้นใด้เด่นไปเลย
ส่วนผสมทางการตลาด 4 P ประกอบด้วย Product= สินค้า Price = ราคา Place = การจัดจำหน่าย
Promotion = การส่งเสริมการขาย วิเคราะห์เดี๋ยวนี้เลยคะว่า สินค้าของคุณไม่เด่น ไม่ดีตรงไหนเน้นตรงนั้นให้สุดๆ ไปเลย ทำการตลาด และสร้างแบรนด์ตรงจุดนั้นๆ ไป เช่น คุณด้อยทางด้านสินค้า หีบห่อไม่เด่น ไม่ประทับใจ ก็จ้างนักออกแบบมืออาชีพมาออกแบบให้ใหม่เลย การจัดจำหน่ายไม่ครอบคลุมพอก็ทำการตลาดสร้างแบรนด์ตามสื่อต่างๆ ให้มากขึ้น เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายให้มากขึ้น จัดแคมเปญไปเลย แต่อย่าลืมภาพพจน์และความเป็นตัวตนของแบรนด์ของคุณน่ะคะ
4. ทำอะไรๆ ให้ง่ายๆ กับลูกค้าเข้าไว้
ให้ลูกค้าสะดวกสะบาย รู้สึกไม่เครียด ลดขั้นตอนต่างๆ ลงไป มีช่องทางให้เลือกมากขึ้น หมดยุคของกระบวนการสินค้า และบริการที่ซ้ำซ้อนได้แล้ว มาคิดอะไรง่ายๆ โดยใช้ลูกค้าเป็นจุดศูนย์กลางดีกว่า ออกแบบวิจัยเลยว่าสิ่งที่ลูกค้าต้องการจากกระบวนการง่ายๆ นั้นต้องการอะไร ทางเราขอยกตัวอย่างบัตรเครดิตยี่ห้อหนึ่ง ปกติการสมัครบัตร ต้องได้รับการพิจารณาการออกบัตรเครดิตให้ลูกค้าคนนั้นๆ อย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ แต่บริษัทนี้ เพียงแค่ 30 นาทีก็รู้ผลแล้ว ลูกค้าก็สามารถมีความหวังกับการสมัครบัตรรายอื่นๆ ต่อไป ไม่ต้องรอให้เสียเวลา อีกทั้งขั้นตอนก็ไม่ยุ่งยาก เตรียมเอกสาร 3 ชุดก็เสนอทำบัตรได้แล้ว มันง่าย จำไว้เลยคะว่า คนในปัจจุบันต้องการอะไรที่ง่ายๆ เร็วๆ สบายๆ
5. ตอบแทนคืนสังคมให้มากที่สุด หมดยุคของการทำการค้าอย่างเดียวแล้ว
นั่นก็คือกิจกรรมการตลาดเพื่อสังคม ( CSR ) นั่นเอง ได้กำไร ได้อะไรมาก็ทำเพื่อสังคมบ้างครับ ยิ่งให้คุณยิ่งได้มากขึ้น จะเกิดการบอกต่อของแบรนด์มากขึ้น เกิดความศรัทธามากขึ้น ความจงรักภักดีก็เกิดขึ้น ภาพพจน์ของแบรนด์จะเป็นในแง่บวก เกิดความอบอุนในแบรนด์ การตอบแทนคืนกับสังคม เป็นเรื่องที่ธุรกิจทั่วๆ ไปในไทยนี้ มีน้อยมาก มุ่งแต่ขาย มุ่งแต่ปลดคนงานเพื่อลดต้นทุน มุ่งแต่ลดขนาดองค์กร จนลืมไปว่ายังมีทางเลือกที่ดีกว่านี้ในการทำอะไรที่กระทบต่อพนักงาน การทำการตลาด สร้างแบรนด์โดยให้คืนแก่สังคม โดยพนักงานในธุรกิจนั้นๆ มีส่วนรวม เป็นการสร้างแบรนด์ที่ทรงอานุภาพมากในยุคเศรษฐกิจฝึดเคืองเช่นนี้ และสามารถใช้ได้กับทุกๆ ภาวะเศรษฐกิจเลยทีเดียว
ลองดูกันนะคะว่างองค์กรของคุณขาดข้อไหนบ้าง และสามารถปรับเปลี่ยนให้มันดีขึ้นได้อย่างไร
ที่มา : coachtawatchai.org