Facebook Like ไม่ใช่คำตอบเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป

Facebook Like ไม่ใช่คำตอบเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป

ขอบคุณภาพจาก : Wired

ปุ่มไลค์ที่ใครทุกคนต่างก็เห็นกันจนชินตา

 เจ้าปุ่มกดไลค์ (Like) โชว์นิ้วโป้งสีฟ้าอ่อน ๆ นี่ ผมเชื่อว่าน่าเป็นส่วนที่มีการใช้งานมากที่สุดในเฟซบุ๊กแล้วก็เป็นได้ จะไม่ให้คิดอย่างงั้นได้อย่างไรกันล่ะค่ะ เราเองเป็นคนหนึ่งที่เมื่อเห็นเพื่อน ๆ โพสต์อะไรขึ้นมาในเฟซบุ๊กไทม์ไลน์ ก็มักจะกดไลค์ให้เสมอ จนบางทีทำไปโดยแทบจะไม่ได้คิดไปแล้ว เราว่าเจ้าปุ่มไลค์นี่สามารถเอาไว้ใช้เป็นแผนสำรองชั้นดีเวลาเราไม่รู้จะตอบสนองต่อข้อความและรูปภาพในโพสต์ของเพื่อนเราอย่างไร เราก็กดไลค์ให้เขาแทน นั่นก็เพื่อให้เขารับรู้ว่าเราได้เห็น ได้อ่านเรื่องราวของเขาแล้วนะ อย่างไรก็ตาม ก็ยังคงมีบางจังหวะที่ไม่เหมาะสมที่จะกดไลค์ให้เป็นอันขาด เช่น เมื่อมีใครบางโพสต์เรื่องเศร้าในชีวิตของเขาหรือเรื่องการจากไปของใครบางคนในครอบครัว เป็นต้น จริงไหมค่ะ? เฟซบุ๊กเข้าใจได้ดีถึงจุดอ่อนของเจ้าปุ่มไลค์นี้ ว่ามันไม่ได้ครอบคลุมไปเสียทุกสถานการณ์ ไม่เหมาะกับการใช้ในกรณีที่เป็นเรื่องเศร้า และบางครั้งมันไม่ได้สื่อถึงความรู้สึกของคนที่กดเจ้าปุ่มนี้จริงๆ แต่เพียงเพราะว่ามันไม่มีปุ่มอื่นให้กดแล้วต่างหาก!  เพื่อนๆ ที่ใช้เฟซบุ๊กอยู่เป็นประจำ น่าจะสังเกตได้ว่าเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา เฟซบุ๊กได้มีสามารถใหม่เพิ่มขึ้นมา เมื่อเรานำเมาส์หรือนิ้วมือไปวางที่ปุ่มไลค์ในเว็บหรือแอปพลิเคชั่นเฟซบุ๊ก จะมีเซ็ตไอคอนอันแสนน่ารักปรากฎขึ้นมา ทางบริษัทเขาเองตั้งชื่อเจ้าหกเกลอนี้ว่า "Ractions" หรือแปลตรงๆ เป็นภาษาไทยก็คือการตอบโต้ ตอบสนอง ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั่นเอง เจ้า reaction นี้จะมาเป็นเพื่อนให้เจ้าปุ่มไลค์ไม่ต้องถูกกดอยู่อย่างโดดเดี่ยวปุ่มเดียวอีกต่อไป และไม่ได้มาคนเดียวซะด้วย เพราะงานนี้มาเพิ่มเป็นทีมถึงห้าปุ่มด้วยกัน

         เราได้อ่านเรื่องราวเบื้องหลังการออกแบบเจ้า reaction ทั้งหกปุ่มนี้ (รวมปุ่มไลค์) ซึ่งประกอบไปด้วย Like (ชอบ), Love (รัก), Haha (หัวเราะ), Wow (ตกใจหรือประหลาดใจ), Sad (เสียใจ) และ Angry (โกรธ) จากทีมออกแบบของเฟซบุ๊ก แล้วพบว่า กว่าจะมาเป็นเจ้า reaction ที่น่ารักทั้งห้าปุ่มนี้ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยจริง ๆ Reactions เหล่านี้ต้องเข้าใจได้ง่ายอย่างเป็นสากลและสื่อความหมายได้ดี ทีมออกแบบตีโจทย์หลักของการออกแบบ reaction ไว้ว่าจะต้องมีรูปแบบที่เป็นกลาง เข้าใจได้ตรงกันทั้งโลก เนื่องจากว่า  หากมันสื่อความหมายที่ไม่ตรงกันแล้ว ก็อาจจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้นั่นเอง เพื่อตอบโจทย์นี้ ทีมงานได้ทำการเก็บข้อมูลหลาย ๆ ด้านเพื่อประกอบการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นวิเคราะห์ว่ามีสติ๊กเกอร์ภาพใดบ้างที่ถูกใช้บ่อยที่สุด คำค้นหาสติ๊กเกอร์ที่พบได้บ่อยที่สุดคือคำว่าอะไร (ซึ่งพบว่าได้แก่คำอธิบายอารมณ์ต่าง ๆ เช่น Happy, Laughing, Angry, Hug เป็นต้น) คำที่คนมักใช้บ่อย ๆ ในการคอมเมนต์ได้แก่อะไรบ้าง จนสุดท้ายสามารถลดตัวเลือกลงได้เหลือแปดคำ ได้แก่ Like (ชอบ), Love (รัก), Haha (หัวเราะ), Wow (ว้าว), Sad (เสียใจ), Angry (โกรธ), Confused (สับสน), Yay (เย้)

ขอบคุณภาพจาก : The Irish Times

         การออกแบบไอคอนของปุ่ม reactions ไม่ใช่เรื่องง่าย หากเพื่อน ๆ คิดว่า การเลือกว่าจะใช้คำใดเป็น reactions ว่ายากแล้ว การออกแบบเจ้าปุ่มเหล่านี้ยิ่งยากกว่าค่ะ เนื่องจากว่าทีมงานต้องการที่จะออกแบบภาพไอคอนที่สามารถครอบคลุมความหมายของคำที่เลือกมาให้ดีที่สุด และเข้าใจได้ตรงกันไม่ว่าจะมีพื้นฐานทางวัฒนธรรมหรือสังคมที่แตกต่างกัน ไอคอนที่ออกแบบเหล่านี้จะถูกใช้แทนตัวหนังสือเพราะเข้าใจได้ง่ายกว่า และสามารถใช้ร่วมกันได้ทั่วทั้งโลกโดยไม่ขึ้นกับภาษา ซึ่งนับว่าเป็นงานที่หินจริงๆ ค่ะ ลองดูตัวอย่างการออกแบบที่ผ่านมาได้จากตัวอย่างด้านล่างนะค่ะ จะพบว่าทีมงานได้ทำการออกแบบมาแล้วมากมายหลายรูปแบบด้วยกัน  หลังจากได้ทดลองการออกแบบไอคอนมากมายหลายแบบกันจนแทบจะตาลาย ในที่สุดพวกเขาก็มาลงตัวที่เซ็ตสุดท้ายเซ็ตนี้ค่ะ น่ารักเชียว (แต่สุดท้ายเจ้า Yay ก็ไม่ได้ไปต่อกับเพื่อน ๆ ในที่สุด เนื่องจากทีมงานพบว่าความหมายไม่ชัดเจนเพียงพอค่ะ)

ขอบคุณภาพจาก : Medium

แล้ว reactions จะทำงานอย่างไร คราวนี้ก็มาถึงโจทย์ว่า เอ จะทำอย่างไรให้เจ้า reaction ทั้งหลายเหล่านี้ สามารถผสมผสานกลมกลืนเข้าไปในระบบที่มีอยู่แล้วได้อย่างดี เสมือนว่าเป็นส่วนขยายของปุ่มไลค์และไม่ทำให้ระบบเดิมที่ดีอยู่แล้วซับซ้อนและใช้งานยากขึ้น และก็เช่นเดิม ทางทีมงานได้ออกแบบ ทดลองใช้ และปรับปรุงวิธีการแสดงผลเจ้า reactions ซ้ำไปซ้ำมามากมายหลายแบบ จนหลังจากทุกอย่างลงตัว จึงออกมาเป็นสิ่งที่เรียกว่า "dock" หรือเจ้าแถบสีขาวที่ยื่นออกมาเวลาเราเอาเมาส์ (หรือนิ้วมือ) ไปวางบนปุ่มไลค์นั่นเอง  สุดท้ายคือการแสดงผลการกด reactions ของเพื่อนๆ ของเรา ที่ทางทีมงานได้ตัดสินใจว่าให้แสดงเฉพาะสาม reactions ที่มีจำนวนมากที่สุดเท่านั้น เพื่อไม่ให้รกเกะกะตาจนเกินไป และหากอยากดูรายละเอียดมากขึ้น ก็สามารถกดเข้าไปดูเพิ่มเติมได้อีกทีหนึ่ง

ขอบคุณภาพจาก : The Indian Express

ขอบคุณแหล่งที่มา : อ.ชัยยงค์ รักขิตเวชสกุล

 

 

โดย :
 12123
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

คุณรู้ไหมว่า Canonical Tag คืออะไร? จริงๆ แล้วมันเกี่ยวข้องกับ SEO หรือการปรับแต่งเว็บให้ติด Search Engine การใส่ Canonical tag เอาไว้ที่เว็บ เพื่อเป็นการลดและป้องกันการ เกิดข้อมูลซ้ำ (duplicate content) ของเว็บเรา
การเคลื่อนไหวของ Apple ในแต่ละครั้ง มีผลกับอุตสาหกรรม IT และเป็นที่จับมองในทุกๆ ครั้ง ทั้งคนที่สนใจ รวมทั้งบริษัทที่เป็นคู่แข่ง ล่าสุด Apple ก็ขยับตัวอีกครั้งด้วยการคว้าบริษัท Startup ที่พัฒนาระบบการหาพิกัดภายในอาคาร ซึ่งแน่นอนว่าเอามาเพื่อมาต่อกรกับ Google Indoor Maps
การมีโซเชียลมีเดียเป็นเพียงช่องทางหรือทางเลือกในการติดต่อกับผู้ซื้อ/ลูกค้าเท่านั้น ไม่ใช่ช่องทางหลักในการใช้งาน ดังนั้น เราจะมาไขข้อสงสัยให้กระจ่างกัน ที่ว่าทำไมต้องมีเว็บไซต์? เป็น 6 หัวข้อเข้าใจง่าย ดังต่อไปนี้

Feature SoGoodWeb

SoGoodWeb มีระบบรับชำระเงินแบบใหม่ผ่าน Pay Solution รองรับทุกธนาคารชั้นนำ ทำให้การจ่ายเงินผ่านช่องทางออนไลน์เป็นเรื่องง่าย ช่วยให้ลูกค้าจ่ายเงินออนไลน์ได้อย่างสะดวก
LINE Notify คือ บริการที่คุณสามารถได้รับข้อความแจ้งเตือนจากเว็บเซอร์วิสต่างๆ ที่คุณสนใจได้ทาง LINE โดยหลังเสร็จสิ้นการเชื่อมต่อกับทางเว็บเซอร์วิสแล้ว คุณจะได้รับการแจ้งเตือนจากบัญชีทางการของ “LINE Notify” ซึ่งให้บริการโดย LINE นั่นเอง
เหมาะสำหรับลูกค้าที่เปิดธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ทั้งที่เป็นเจ้าของเอง หรือเป็นรายย่อย เป็นระบบจองทัวร์ ที่ช่วยทำให้การจัดการธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ให้เป็นเรื่องง่าย
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์