ฐานข้อมูลกับโลกในยุคที่ข้อมูลมีค่ามากกว่าเงิน

ฐานข้อมูลกับโลกในยุคที่ข้อมูลมีค่ามากกว่าเงิน

        ทุกท่านอาจจะเคยได้ยินคำว่าฐานข้อมูลกันมาบ้างแล้ว แต่อ่านมาถึงตรงนี้แล้วสงสัยว่า มันมาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของท่านได้อย่างไรหล่ะ บอกได้เลยว่าเกี่ยวข้องอย่างมากเลย ถ้ายกตัวอย่างง่ายๆ ที่ใกล้ตัวเราทุกคนมากก็คือเฟซบุ๊ค (Facebook) นั่นเอง เชื่อว่าทุกคนจะต้องมีบัญชีเฟซบุ๊คส่วนตัวกันใช่ไหม เมื่อเรามีบัญชีส่วนตัวแล้วเฟซบุ๊คก็จะมีช่องทางหลากหลายที่ให้เรานำข้อมูลของเราไปแบ่งปันให้เพื่อนๆ ได้เห็น เช่น การอัปเดตสถานะ การโพสต์รูปภาพ การอ่าน และการแสดงความเห็น (comment) กับสถานะหรือรูปภาพของเพื่อนๆ เรา สิ่งเหล่านี้เราใช้งานกันจนกลายเป็นเรื่องธรรมดาไปเสียแล้วในปัจจุบัน 

       อย่างไรก็ดี ท่านเคยคิดไหมว่า เอ... ข้อมูลทั้งหลายที่เราส่งเข้าไปให้เฟซบุ๊คนั้น มันถูกเก็บไว้ที่ไหนอย่างไร ทำไมเฟซบุ๊คจึงสามารถเก็บข้อมูลเรา (รวมถึงเพื่อนๆ) ได้อย่างมากมายมหาศาล นอกจากนี้ ยังสามารถแสดงข้อมูลของเราได้อย่างรวดเร็วแม้ว่าจะเป็นข้อมูลที่เก็บไว้นานแล้วก็ตาม เช่น ข้อมูลเมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว เราก็ยังสามารถเรียกดูได้อยู่ แต่ละวันเฟซบุ๊คมีข้อมูลใหม่เป็นปริมาณมากมายมหาศาล ภาพด้านล่างเป็นภาพศูนย์ข้อมูลของเฟซบุ๊คที่ตั้งอยู่ในประเทศสวีเดน ลองจินตนาการดูนะว่าขนาดของข้อมูลที่เฟซบุ๊คจะต้องจัดการนั้นใหญ่โตขนาดไหน หากมีวิธีการจัดการที่ไม่ดีก็จะต้องลำบากแน่ๆ เลยใช่ไหม คำตอบของปัญหานี้ก็คือการจัดการข้อมูลด้วย “ฐานข้อมูล (Database)”นั่นเอง

ฐานข้อมูล, Database, Facebook
ภาพศูนย์ข้อมูล (Data center) ของเฟซบุ๊คที่ประเทศสวีเดน โดย Tortap (Own work) [CC BY-SA 3.0 (http://creativecommons.org/licenses/by-sa/3.0)], via Wikimedia Commons

นิยามของคำว่า ฐานข้อมูล ก็คือ โครงสร้างการเก็บข้อมูลทางด้านคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งที่มีความสามารถในการแบ่งปันการใช้งานข้อมูลได้ ซึ่งความสามารถเหล่านี้นั่นเองที่ทำให้การเก็บข้อมูลเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด มาดูกันว่าฐานข้อมูลทำงานอย่างไร

การทำงานของฐานข้อมูล

         ฐานข้อมูล นั้นจะทำงานได้จะต้องมีโปรแกรมที่ช่วยในการบริหารจัดการที่เรียกว่า ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management Systems: DBMS) ซึ่งเจ้าระบบจัดการฐานข้อมูลนี้จะเก็บข้อมูลทั้งหมดไว้ในฐานข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นข้อความที่เป็นตัวหนังสือ หรือแม้แต่รูปภาพก็ตาม 

         จุดเด่นที่ทำให้ระบบจัดการฐานข้อมูลสามารถเก็บและเรียกใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพก็คือการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบระเบียบมีโครงสร้างนั่นเอง โดยเก็บข้อมูลในรูปแบบตารางซึ่งประกอบด้วยแถว (row) และสดมภ์ (column)หากท่านนึกไม่ออกให้ลองนึกถึงการเก็บข้อมูลในโปรแกรมไมโครซอฟท์เอ๊กเซล (Microsoft Excel) เป็นตัวอย่างก็ได้ครับ ซึ่งการเก็บข้อมูลในรูปแบบตารางนี้ทำให้สะดวกต่อการเรียกใช้งาน เนื่องจากเราได้แบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนย่อยๆ หลายๆ ส่วน ที่สามารถบันทึกและเรียกดูแยกกันได้ ทำให้มีความรวดเร็วในการเข้าถึงข้อมูลมากกว่าการเก็บอย่างไม่มีโครงสร้าง หรือการเก็บในโครงสร้างอื่นๆ

ตัวอย่างโครงสร้างการเก็บข้อมูลในระบบจัดการฐานข้อมูล

           จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญของระบบจัดการฐานข้อมูลก็คือ วิธีการบันทึกและเรียกดูข้อมูลนั่นเอง ระบบจัดการฐานข้อมูลมีวิธีการจัดการกับสิ่งเหล่านี้อย่างชาญฉลาด ลองนึกดูว่าถ้าเราเก็บชื่อเพื่อนๆ ของเราในไฟล์ Microsoft Word แล้วเราต้องการหารายชื่อของเพื่อนที่อยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานครฯ ทุกคน เราก็จะต้องไล่ดูไปทีละคนใช่ไหม นั่นทำให้เสียเวลามาก ยิ่งเรามีเพื่อนเยอะเท่าไหร่ รายชื่อของเราก็จะยิ่งยาว แล้วเราก็จะยิ่งเสียเวลาในการไล่ดูจนครบทุกคน แต่ว่าระบบจัดการฐานข้อมูลมีการเก็บข้อมูลอย่างมีโครงสร้างอยู่แล้ว ทำให้สามารถเรียกดูข้อมูลโดยการระบุไปได้อย่างเฉพาะเจาะจงว่า “ต้องการชื่อของเพื่อนทุกคน ที่อยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานครฯ” ซึ่งวิธีการระบุข้อมูลที่เราต้องการแบบนี้จะกระทำผ่านภาษาเฉพาะอันหนึ่งที่ระบบจัดการฐานข้อมูลเข้าใจได้ ที่เรียกว่า Structured Query Language (SQL) นั่นเอง แล้วระบบจัดการฐานข้อมูลก็จะคืนข้อมูลเฉพาะส่วนที่เราอยากได้มาให้ภายในเวลาอันรวดเร็วเพียงเสี้ยววินาทีเท่านั้น จากตัวอย่างข้อมูลในตารางด้านบน เราจะได้ผลลัพธ์แบบนี้

        ที่เล่ามาทั้งหมดเป็นเพียงหลักการพื้นฐานของฐานข้อมูลและระบบจัดการฐานข้อมูล เห็นไหมว่าการจัดการข้อมูลอย่างมีโครงสร้างที่เป็นระบบนั้นสำคัญอย่างมาก ในการทำให้เราเก็บบันทึกและเรียกดูข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในโลกยุคที่เราเก็บข้อมูลทั้งหมดไว้ในรูปแบบดิจิทัลบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลเหล่านี้มีค่าและมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด เนื่องจากเป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจ การเงิน การใช้ชีวิต แม้แต่เงินในบัญชีธนาคารของเราทุกคนก็อยู่ในฐานข้อมูลเช่นกัน

ขอบคุณแหล่งที่มา : ชัยยงค์ รักขิตเวชสกุล

โดย :
 3511
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็น Green ในตัวเล่ม LEED Existing Building Operation and Maintenance มีประเด็นของการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นไปภายใต้ปรัชญาความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งที่ความสำคัญมากในกรอบของการใช้อาคาร
ในการออกแบบมีหลายด้านที่ AI ยังทำแทนไม่ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งบางส่วนเกี่ยวข้องกับความสามารถเฉพาะที่เป็นมนุษย์และการรับรู้ที่ซับซ้อน
เพราะทุกวันนี้มีสิ่งที่ดึงดูดความสนใจผู้บริโภคมากมายในโลกออนไลน์ และการจะหยุดนิ้วโป้งหรือดึงความสนใจได้คือการสร้างคอนเทนต์ ซึ่งกว่าจะได้คอนเทนต์โดนใจไม่ใช่เรื่องง่าย...

Feature SoGoodWeb

SoGoodWeb มีระบบรับชำระเงินแบบใหม่ผ่าน Pay Solution รองรับทุกธนาคารชั้นนำ ทำให้การจ่ายเงินผ่านช่องทางออนไลน์เป็นเรื่องง่าย ช่วยให้ลูกค้าจ่ายเงินออนไลน์ได้อย่างสะดวก
LINE Notify คือ บริการที่คุณสามารถได้รับข้อความแจ้งเตือนจากเว็บเซอร์วิสต่างๆ ที่คุณสนใจได้ทาง LINE โดยหลังเสร็จสิ้นการเชื่อมต่อกับทางเว็บเซอร์วิสแล้ว คุณจะได้รับการแจ้งเตือนจากบัญชีทางการของ “LINE Notify” ซึ่งให้บริการโดย LINE นั่นเอง
เหมาะสำหรับลูกค้าที่เปิดธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ทั้งที่เป็นเจ้าของเอง หรือเป็นรายย่อย เป็นระบบจองทัวร์ ที่ช่วยทำให้การจัดการธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ให้เป็นเรื่องง่าย
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์